ในปัจจุบันโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ จำเป็นต้องมีเครื่องมือในการควบคุมความเร็วมอเตอร์ เพื่อควบคุมระบบการผลิตให้ได้ตามต้องการ อินเวอร์เตอร์ เป็นทางเลือกหนึ่งที่ใช้สำหรับการควบคุมความเร็วของมอเตอร์ให้มีความเร็วต่างๆ กัน และการนำอินเวอร์เตอร์ไปใช้งานนั้น บางครั้งก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ มากมาย ดังนั้นเราควรรู้จักดูแลรักษา อินเวอร์เตอร์ เพื่อเป็นการลดการ Down Time ของเครื่องจักรทางหนึ่งด้วย
การทำงานของอินเวอร์เตอร์
มอเตอร์เหนี่ยวนำที่หมุนด้วยความเร็วต่างๆ กันนั้น จะขึ้นอยู่กับจำนวนขั้วแม่เหล็กต่อเฟสของตัวมอเตอร์ และความถี่ของแหล่งจ่ายไฟ ความถี่ของแหล่งจ่ายไฟ คือจำนวนขั้วแม่เหล็กต่อเฟส (Pole/Phase) เช่นมอเตอร์ที่มีขั้วแม่เหล็ก 4 ขั้ว ความถี่ของแหล่งจ่ายไฟ 50 Hz ความเร็วซิงโครนัสจะมีค่าเท่ากับ 1500 rpm ดังนั้นถ้าตัวแปรใดตัวแปรหนึ่งเปลี่ยนแปลง จะทำให้ความเร็วซิงโครนัสเปลี่ยนแปลงไปด้วย จากหลักการดังกล่าว จึงนำมาสร้างอินเวอร์เตอร์ ที่ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนความถี่ของแหล่งจ่ายไฟกระแสสลับไปเป็นความถี่ที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ของแรงดันกระแสตรง ทำให้สามารถปรับเปลี่ยนความเร็วของมอเตอร์ได้
การบำรุงรักษา ในการบำรุงรักษาอินเวอร์เตอร์ประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอนหลัก ที่ต้องคอยตรวจสอบเป็นประจำ คือ
- รักษาความสะอาด อินเวอร์เตอร์ ส่วนใหญ่จะใช้มาตรฐาน NEMA1 (มาตรฐานเกี่ยวกับการระบายอากาศด้านข้างสำหรับให้อากาศไหลเข้าออก) จะมีข้อเสียสำหรับฝุ่นละออง เนื่องจากฝุ่นละอองบนอุปกรณ์ อินเวอร์เตอร์จะทำให้อากาศไหลผ่านไม่สะดวก ทำให้ลดประสิทธิภาพการทำงานของแผ่นระบายความร้อน
- การสเปรย์อากาศผ่านแผ่นระบายความร้อนของพัดลมเป็นมาตรการการบำรุงรักษาการป้องกันที่ดี การปล่อยอากาศที่อัดความดันเข้าไปในอินเวอร์เตอร์ ซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถใช้ได้กับสภาพแวดล้อมบางอย่าง แต่อากาศที่อยู่ภายในโรงงานจะประกอบด้วยน้ำมัน และน้ำ
- ตรวจสอบความชื้นในการติดตั้งอินเวอร์เตอร์นั้นต้องติดตั้งบนผนังที่สะอาด และแห้ง เพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นและละอองไอน้ำจากความชื้นเข้าไปทำความเสียหายส่วนต่างๆ ซึ่งจะทำให้แผ่นวงจรเกิดการผุกร่อนเสียหายได้
- ตรวจสอบรอยต่อให้แน่น วัฏจักรความร้อน และความสั่นสะเทือนทางกลที่เกิดขึ้น สามารถทำให้จุดเชื่อมต่อต่างๆ เคลื้อนที่ได้ซึ่งการเชื่อมต่อที่ไม่ดีจะทำให้เกิดการอาร์ค การเกิดอาร์คที่อินพุตของอินเวอร์เตอร์ จะทำให้เกิดแรงดันเกิน ซึ่งจะทำให้ฟิวส์ขาด และอุปกรณ์ป้องกันเสียหายได้
- ตรวจสอบทางกลไก อย่ามองข้ามส่วนประกอบต่างๆ ที่อยู่ภายในอินเวอร์เตอร์ โดยต้องตรวจสอบพัดลมโดยดูที่แบริ่งว่ามีความเสียหายหรือเปล่า และมีวัตถุติดอยู่ที่พัดลมหรือไม่ โดยสังเกตฟังที่เสียงที่ผิดปกติ และแกนของพัดลมเกิดการโยกหรือไม่
- ตรวจสอบตัวเก็บประจุ ทำการตรวจสอบตัวเก็บประจุที่ใช้กับบัสแรงดันกระแสตรง ว่ามีการโป่ง และมีสารละลายใดๆ รั่วซึมหรือเปล่า ซึ่งทั้งสองกรณีนี้สามารถสังเกตได้จากส่วนประกอบต่างๆ
การตรวจสอบตามระยะที่กำหนดไว้จะลดความเสี่ยง และป้องกันความเสียหายต่อ อินเวอร์เตอร์ หรืออุปกรณ์อื่นๆ ภายในอุตสาหกรรมได้
VEICHI AC310 Series ใช้งานได้กับมอเตอร์ 3-phase แบบ Asynchronous และ Synchronous มอเตอร์เซอร์โว
คุณสมบัติของ AC310 Series Frequency Inverter
- มีประสิทธิภาพในการควบคุมการทำงานสูง
- รองรับมอเตอร์ ละโหลดได้หลายประเภท
- ควบคุมแรงบิดได้
- ติดตั้งได้ประหยัดพื้นที่
- มีระบบระบายความร้อนที่เชื่อถือได้
- เชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นได้อย่างรวดเร็ว
- ออกแบบได้มาตรฐาน
การติดตั้ง อินเวอร์เตอร์ปรับรอบมอเตอร์ VEICHI AC310 Series ควรติดตั้งอย่างถูกต้อง เพื่อให้อินเวอร์เตอร์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถทำงานร่วมกับมอเตอร์ได้อย่างเหมาะสมที่สุด โดยบริษัท เทอรา กรุ้ป จำกัด จำหน่ายอินเวอร์เตอร์และมีผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้คำปรึกษา วิเคราะห์การใช้งานของไฟฟ้า เพื่อให้ติดตั้งอินเวอร์เตอร์ได้อย่างเหมาะสมกับการใช้งานของโรงงานได้อย่างเหมาะสมที่สุด