หลายคนคงคุ้นกับชื่อของ “อินเวอร์เตอร์ (Inverter)” หรือ (Variable Frequency Drive : VFD) เป็นอุปกรณ์ปรับความเร็วรอบมอเตอร์ ที่มีศักยภาพช่วยลดการใช้พลังงานต่อหน่วยสูง สามารถใช้งานควบคู่ได้กับมอเตอร์ไฟฟ้าทั่วไป เช่น กระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม ระบบปั้มน้ำ พัดลม และ ระบบปรับอากาศขนาดใหญ่
อินเวอร์เตอร์คืออะไร
คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการปรับเปลี่ยนความเร็วรอบของ 3-Phase Squirrel-Cage Induction Motor โดยวิธีการปรับแรงดันและความถี่ไฟฟ้าให้เหมาะสมกับมอเตอร์ บางครั้งจะเรียกว่า “V/F Control” อินเวอร์เตอร์ (Inverter) ยังมีชื่อเรียกอีกหลายอย่าง เช่น
- VSD : Variable Speed Drives
- VVVF : Variable Voltage Variable Frequency
- VC : Vector Control
อินเวอร์เตอร์ใช้กับอะไร
อินเวอร์เตอร์ (Inverter) ถูกนำมาใช้ในเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เช่น เครื่องปรับอากาศ, ตู้เย็น, โทรทัศน์ และระบบเซอร์โวควบคุมมอเตอร์ (Servo Motor) เนื่องจากความต้องการลดการสูญเสียกำลังงานที่สูงโดยเฉพาะขณะเริ่มต้นทำงาน และจากการสูญเสียในแกนเหล็ก และในตัวขดลวด (สำหรับเครื่องเชื่อมแบบมือหมุน และมอเตอร์)
อินเวอร์เตอร์ทำงานอย่างไร?
เปลี่ยนไฟฟ้ากระแสสลับที่มีแรงดันไฟคงที่และความถี่เป็นไฟฟ้ากระแสสลับที่มีแรงดันและความถี่ผันแปร ควบคุมรอบต่อนาทีของมอเตอร์ด้วยการเปลี่ยนความถี่
วิธีการเลือกอินเวอร์เตอร์ (Inverter)
- ระบบไฟฟ้าที่จ่ายให้กับอินเวอร์เตอร์ถือเป็นรายละเอียดที่สำคัญมาก เราควรดูว่า อินเวอร์เตอร์ ที่เราเลือกนั้นใช้กับระบบไฟฟ้าแบบใด แบบ 1 เฟส หรือแบบ 3 เฟส และ มีช่วงแรงดันและกระแสในการใช้งานอยู่ที่เท่าไร
- กำลังของมอเตอร์ใช้กับกำลังมอเตอร์ขนาดเท่าไร
- ความถี่ของแหล่งจ่ายไฟมอเตอร์ความถี่ของมอเตอร์ที่สามารถใช้ได้
- แรงบิด (Torque) ของโหลดควรพิจารณาจากการใช้งานว่าเราต้องการแรงบิดที่จะป้อนให้กับโหลดเท่าใด
- สภาพแวดล้อมในการติดตั้งบริเวณที่ทำการติดตั้งนั้นมีอุณหภูมิอยู่ในช่วงประมาณเท่าไร มีความชื้นแค่ไหน และ หากบริเวณที่เราติดตั้งนั้นต้องเผชิญกับฝุ่น และ น้ำเราก็ควรเลือกอินเวอร์เตอร์ที่ได้รับมาตรฐานการป้องกันฝุ่น และ น้ำ
- ขนาดของอินเวอร์เตอร์เราควรพิจารณาจากพื้นที่ที่เราทำการติดตั้ง
- Cooling Method เวลาใช้งานตัวอินเวอร์เตอร์จะเกิดความร้อนขึ้น เพื่อไม่ให้อินเวอร์เตอร์ร้อนเกินไปในขณะใช้งานทางที่ดีเพื่อป้องกันความเสียหายควรเลือกอินเวอร์เตอร์ที่มีระบบการระบายความร้อน
อย่างไรก็ตาม การพิจารณาศักยภาพการประหยัดพลังงานของการประยุกต์ใช้ตัวปรับความเร็วรอบมอเตอร์มีความจําเป็นที่จะต้องเข้าใจในหลักการและพฤติกรรมของโหลดที่มอเตอร์ขับอยู่ เพื่อที่จะสามารถพิจารณาเลือกใช้ตัวปรับความเร็วรอบมอเตอร์ได้อย่างเหมาะสม และ มีประสิทธิภาพสูงสุด