ช่วงต้นปี 2568 นี้ รัฐบาลได้เปิดตัวมาตรการลดหย่อนภาษีใหม่ชื่อ Easy E-Receipt 2.0 ซึ่งช่วยให้ผู้เสียภาษีสามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนได้สูงสุดถึง 50,000 บาท โดยมาตรการนี้พัฒนาต่อจากโครงการช้อปดีมีคืน (2563-2566) และ Easy E-Receipt ในปี 2567 โดยมีการปรับเงื่อนไขใหม่ เช่น การใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์อย่างเข้มงวดมากขึ้น
Easy E-Receipt 2.0 เริ่มวันไหน
แคมเปญ Easy E-Receipt 2.0 จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2568 ในช่วงเวลานี้ ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถนำค่าใช้จ่ายจากการซื้อสินค้าและบริการภายในประเทศที่มีใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) มาหักลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท
Easy E-Receipt 2.0 ลดหย่อนภาษี 2568 แตกต่างจากปีที่แล้วอย่างไร?
Easy E-Receipt 2.0 เป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่ช่วยให้ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถใช้จ่ายและนำใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ไปใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้ประจำปี 2568 ได้สูงสุดถึง 50,000 บาท ซึ่งยังคงเป็นวงเงินเดียวกับโครงการ Easy E-Receipt ปี 2567 แต่มีความแตกต่างสำคัญในเรื่องของ การแบ่งวงเงินและประเภทสินค้าที่สามารถลดหย่อน
ความแตกต่างระหว่าง ช้อปดีมีคืน และ Easy E-Receipt 2.0
หัวข้อเปรียบเทียบ |
ช้อปดีมีคืน |
Easy E-Receipt 2.0 (2568) |
วงเงินลดหย่อนสูงสุด |
50,000 บาท | 50,000 บาท |
30,000 บาทแรก |
ซื้อสินค้าทั่วไปที่ร้านค้าในระบบ VAT | ซื้อสินค้าทั่วไปที่ร้านค้าในระบบ VAT |
20,000 บาทถัดมา |
– | สินค้า OTOP, วิสาหกิจชุมชน, SMEs |
เอกสารที่ใช้ลดหย่อน |
ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) หรือ e-Receipt เท่านั้น | ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) หรือ e-Receipt เท่านั้น |
เงื่อนไขพิเศษ |
หากไม่ใช่ร้านจด VAT ต้องเป็นหนังสือ, นิตยสาร หรือสินค้าจากโครงการ OTOP ที่ออก e-Receipt | หากไม่ใช่ร้านจด VAT ต้องเป็นหนังสือ, นิตยสาร หรือสินค้าจากโครงการOTOP ที่ออก e-Receipt |
ใบเสร็จแบบกระดาษ |
ใช้ได้ในบางกรณี | ไม่สามารถใช้ได้ |
Easy E-Receipt 2.0 ซื้ออะไรได้บ้าง
เงื่อนไขการลดหย่อนภาษีในแคมเปญ Easy E-Receipt 2.0
ลดหย่อนได้สูงสุด 50,000 บาท แบ่งเป็น 2 ส่วน
1. 30,000 บาท : ซื้อสินค้าหรือบริการที่กำหนด
จากร้านค้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่สามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบ (e-Tax Invoice) ให้ได้เท่านั้น
หักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท สำหรับค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยต้องมีใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax invoice) แบบเต็มรูปเป็นหลักฐาน หรือผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการที่ไม่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยต้องมีใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) เป็นหลักฐาน และ
2. 20,000 บาท : ซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)
และจากร้านวิสาหกิจชุมชน หรือวิสาหกิจเพื่อสังคม โดยจะร้านจะต้องออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบ (e-Tax Invoice) หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ได้เท่านั้น
หักลดหย่อนได้เพิ่มอีกตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 20,000 บาท สำหรับค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการดังต่อไปนี้ โดยต้องมี e-Tax Invoice แบบเต็มรูป หรือ e-Receipt เป็นหลักฐาน
A. ค่าซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้จดทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว
B. ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จ่ายให้แก่สหกิจชุมชนที่ได้จดทะเบียนต่อกรมส่งเสริมการเกษตร
C. ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จ่ายให้แก่สหกิจเพื่อสังคมที่ได้จดทะเบียนต่อสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
ทั้งนี้ ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการตามข้อ 1 จะเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการตามข้อ 2 ก็ได้
กรณีการจ่ายค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการให้แก่ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการที่ไม่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการดังต่อไปนี้
- ค่าซื้อนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร
- ค่าบริการหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสารที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (e-Book)
- ค่าซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้จดทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว
- ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จ่ายให้แก่สหกิจชุมชนที่ได้จดทะเบียนต่อกรมส่งเสริมการเกษตร
- ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จ่ายให้แก่สหกิจเพื่อสังคมที่ได้จดทะเบียนต่อสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
สินค้า และบริการที่ไม่สามารถลดหย่อนภาษีได้ในแคมเปญ Easy E-Receipt 2.0
- ค่าซื้อสุรา เบียร์ และไวน์
- ค่ายาสูบ
- ค่าซื้อรถยนต์ เรือ ยานพาหนะ และค่าบริการอัดประจุไฟฟ้าสำหรับเติมยานพาหนะ
- ค่าซื้อรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (รถจักรยานยนต์รวมถึงรถจักรยานยนต์ที่ติดเครื่องยนต์)
- ค่าบริการนำเที่ยว การสูบโลหิต ค่าบำบัดน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าสัญญาณโทรศัพท์ และค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต
- ค่าบริการนำเที่ยวที่ผู้ขายสินค้าหรือบริการมีการเสนอแค่การรับและผู้รับบริการสามารถใช้บริการดังกล่าวนอกเหนือจากระยะเวลาของการทดการ
- ค่าที่พักในโรงแรม ค่าบริการในสถานบันเทิง ค่าที่พักในผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว และค่าที่พักในโรงแรม ค่าที่พักโฮมสเตย์เต็นท์ หรือค่าที่พักในสถานที่ที่ไม่ใช่โรงแรม
Easy E-Receipt 2.0 ลดหย่อนภาษี 2568 ใช้หลักฐานอะไรบ้าง
ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice)
- ข้อมูลผู้ขาย
- ชื่อ-นามสกุลของผู้ซื้อ
- เลขประจำตัวผู้เสียภาษี (เลขบัตรประชาชน 13 หลัก) ของผู้ซื้อ
- วันที่ รายการ และจำนวนเงินด้วย
ใบเสร็จรับเงิน ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt)
- เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ขาย
- ชื่อ ยี่ห้อ แบรนด์ ของผู้ขาย
- เลขลำดับของเล่มและใบเสร็จรับเงิน
- ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อ
- วันเดือนปีที่ออกใบเสร็จรับเงิน
- ชนิด ชื่อ จำนวน และราคาสินค้าที่ซื้อ
- จำนวนเงิน
มาตรการ Easy E-Receipt นี้ จะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ในปีภาษี 2568 (ยื่นแบบช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2569) โดยในขั้นตอนการยื่นแบบแสดงรายการภาษี จะมีช่องสำหรับกรอกข้อมูลค่าลดหย่อนฯ โดยให้ระบุยอดมูลค่าสินค้าที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว หรือสินค้าที่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% นำมารวมคำนวณเป็นยอดรวมสำหรับใช้สิทธิลดหย่อนภาษี
ใครที่มีสิทธิ์เข้าร่วม Easy E-Receipt 2.0 ได้บ้าง?
มาตรการ Easy E-Receipt 2.0 ซึ่งถูกนำมาใช้แทนโครงการช้อปดีมีคืน มีเงื่อนไขการเข้าร่วมที่ไม่ครอบคลุมทุกคน ผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมมาตรการนี้ได้ จะต้องเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปีภาษี 2568 ซึ่งจะมีการยื่นแบบและชำระภาษีในช่วงต้นปี 2569 เท่านั้น โดยสิทธิประโยชน์ที่ได้รับคือการลดหย่อนภาษีตามเงื่อนไขที่กำหนด
- เงินได้ต่อปีไม่เกิน 150,000 บาท (ได้รับการยกเว้นภาษี) ไม่สามารถเข้าร่วมมาตรการนี้ได้
- เงินได้ต่อปี 150,001 – 300,000 บาท ลดหย่อนภาษีสูงสุด 2,500 บาท
- เงินได้ต่อปี 300,001 – 500,000 บาท ลดหย่อนภาษีสูงสุด 5,000 บาท
- เงินได้ต่อปี 500,001 – 750,000 บาท ลดหย่อนภาษีสูงสุด 7,500 บาท
- เงินได้ต่อปี 750,001 – 1,000,000 บาท ลดหย่อนภาษีสูงสุด 10,000 บาท
- เงินได้ต่อปี 1,000,001 – 2,000,000 บาท ลดหย่อนภาษีสูงสุด 12,500 บาท
- เงินได้ต่อปี 2,000,001 – 5,000,000 บาท ลดหย่อนภาษีสูงสุด 15,000 บาท
- เงินได้ต่อปี 5,000,001 บาทขึ้นไป ลดหย่อนภาษีสูงสุด 17,500 บาท
เช่นเดียวกับมาตรการช้อปดีมีคืน มาตรการ Easy E-Receipt 2.0 กำหนดเงื่อนไขที่ผู้ไม่มีรายได้ หรือผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่า 150,000 บาทต่อปี รวมถึงผู้มีรายได้ถึงเกณฑ์เสียภาษีแต่มีค่าลดหย่อนภาษีอื่น ๆ เพียงพอจนไม่ต้องเสียภาษี จะไม่สามารถใช้สิทธิ์ในมาตรการนี้ได้
สรุป แคมเปญ Easy E-Receipt 2.0 ลดหย่อนภาษี 2568
แม้ว่ามาตรการช้อปดีมีคืนจะจบไปแล้ว แต่รัฐบาลชุดใหม่ก็ไม่นิ่งเฉย ออกมาตรการ Easy E-Receipt 2.0 มาให้ช่วยลดหย่อนภาษีและกระตุ้นให้ทุกคนออกไปใช้จ่ายกันมากขึ้น อย่างไรก็ตาม สิทธิ์ดี ๆ แบบนี้ คนที่ตรงตามเงื่อนไขควรได้รับนะคะ อย่าลืมเช็กสิทธิ์ตัวเอง แล้วออกไปช้อปอย่างคุ้มค่ากันค่ะ! 🎉
ที่สำคัญ! อย่าลืมแวะมาช้อปที่ TERA GROUP กันเยอะ ๆ นะคะ ร้านเราก็เข้าร่วมแคมเปญ Easy E-Receipt 2.0 ด้วยเหมือนกัน ทั้งช่วยลดหย่อนภาษี แถมยังได้สินค้าคุณภาพสุดคุ้มกลับบ้านไปอีกด้วย แบบนี้พลาดไม่ได้แล้วน้า!
🛒 รีบเลย! ตั้งแต่ 16 ม.ค. – 28 ก.พ. 2568 เท่านั้น!
ช้อป TERA GROUP ได้ทั้งของดี ทั้งลดหย่อนภาษี คุ้มแบบนี้พลาดไม่ได้แล้ว! 🎯
#TERAGROUP #EasyEReceipt2025 #ลดหย่อนภาษี #ช้อปดีมีคืน #โปรดีต้องบอกต่อ #eReceipt #ช้อปอย่างคุ้มค่า