วัตถุประสงค์หลักของการใช้งาน อินเวอร์เตอร์ปรับรอบมอเตอร์ คือ การควบคุมการทำงานของตัวมอเตอร์ เช่น ปรับระดับความเร็วและทิศทางของมอเตอร์ ซึ่งอินเวอร์เตอร์โดยทั่วไปจะมีขั้นตอนในการตั้งค่า ที่คล้ายคลึงกัน โดยบทความนี้จะแนะนำค่าพารามิเตอร์ที่น่าสนใจในการที่จะปรับตั้งอินเวอร์เตอร์เบื้อง

การตั้งค่าพารามิเตอร์ของอินเวอร์เตอร์ปรับรอบมอเตอร์

เปรียบเสมือนการแนะนำอินเวอร์เตอร์ให้รู้จักกับมอเตอร์ และทำให้ทั้งสองสิ่งนี้ทำงานร่วมกันได้ ซึ่งในส่วนนี้ต้อง ปรับตั้งค่าอินเวอร์เตอร์ให้ตรงตามแผ่นป้ายของมอเตอร์ หากตั้งค่าไม่ถูกต้อง อาจมีผลทำให้เกิดความเสียหายขึ้น ซึ่งพารามิเตอร์ที่สำคัญมีดังต่อไปนี้

  • ขนาดของแรงดันที่ใช้กับมอเตอร์
  • ขนาดของกระแสที่ให้มอเตอร์
  • กำลังวัตต์ของมอเตอร์
  • ความเร็วรอบของมอเตอร์

การกำหนดรูปแบบการควบคุม การกำหนดรูปแบบการ เปิด – ปิด อินเวอร์เตอร์ หรือ รูปแบบการควบคุมความเร็วของมอเตอร์

การกำหนดช่วงความถี่ใช้งานที่อินเวอร์เตอร์ปรับรอบมอเตอร์

การกำหนดความถี่ต่ำสุด หรือความถี่สูงสุด เป็นตัวกำหนดความเร็วที่อินเวอร์เตอร์จะปรับรอบให้มอเตอร์ 

  • ความถี่ต่ำสุดของอินเวอร์เตอร์ (Minimum Motor Frequency) ใช้กำหนดความเร็วต่ำสุดที่มอเตอร์จะหมุนได้ ทั่วไปไม่ควรตั้งต่ำกว่า 10 Hz เนื่องจากจะทำให้แรงบิดของมอเตอร์ (torque) ตก และทำให้มอเตอร์ไม่มีกำลังมากพอ
  • ความถี่สูงสุดของอินเวอร์เตอร์ (Maximum Motor Frequency) ใช้กำหนดความเร็วสูงสุดที่มอเตอร์ จะหมุนได้ ปัจจัยสำคัญในการปรับตั้งในส่วนนี้ คือ แรงดันไฟฟ้าของประเทศไทยที่มีความถี่ 50 Hz ซึ่งหากกำหนดมากกว่า 50 Hz จะมีผลให้แรงบิดของมอเตอร์ตกลงอย่างรวดเร็ว แต่มอเตอร์ก็จะมีความเร็วที่สูงขึ้น
  • ช่วงเวลาขอบขาขึ้น (Ramp-Up Time) เป็นการกำหนดระยะเวลาที่มอเตอร์จะใช้ในการเข้าสู่ ความเร็วที่กำหนด หากตั้งค่าน้อยเกินไปจะมีผลทำให้กระแสช่วงออกตัวของมอเตอร์มีค่าสูง ซึ่งหากโหลดที่ให้มีกำลังวัตต์มากที่สุดในโรงงานจะมีผลต่อค่าความต้องการ ไฟฟ้าสูงสุด (Peak Demand -Voltage) แต่หากปรับค่ามากเกินไปจะมีผลทำให้มอเตอร์ออกตัวช้า หรือไม่สามารถออกตัวได้
  • ช่วงเวลาขอบขาลง (Ramp-Down Time) เป็นการกำหนดระยะเวลาที่มอเตอร์ใช้ในการเปลี่ยนจากความเร็วสูงสุด เข้าสู่การหยุดให้แรงดัน ซึ่งโดยปกติการหยุดการทำงานของอินเวอร์เตอร์จะมีลักษณะ

เป็นการค่อยๆ ลดแรงดันจากค่าสูงสุดทีละน้อย จนกระทั่งไม่มีแรงดัน ซึ่งส่งผลต่อเวลาในการหยุดของมอเตอร์ และปริมาณแรงดันไฟฟ้าที่ป้อนกลับเข้าสู่ อินเวอร์เตอร์ ดังนั้น ในกรณีที่มอเตอร์มีขนาดใหญ่ หากปรับค่านี้น้อยเกินไป อาจมีผลทำให้อินเวอร์เตอร์ตัดวงจรอัตโนมัติ เนื่องจากแรงดันไฟฟ้าป้อนกลับ

จะเห็นได้ว่า หากทำการปรับตั้งเครื่องอินเวอร์เตอร์ปรับรอบมอเตอร์ไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดปัญหาหลายอย่างตามมา และส่งผลถึงการใช้งานของทั้งตัวอินเวอร์เตอร์ และตัวมอเตอร์ ในการติดตั้ง และปรับตั้งมอเตอร์ จึงควรทำโดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้อุปกรณ์ทุกชิ้นสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยบริษัท เทอรา กรุ้ป จำกัด จำหน่ายอินเวอร์เตอร์และมีช่างผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้คำปรึกษา วิเคราะห์การใช้งานของไฟฟ้า เพื่อให้ติดตั้งอินเวอร์เตอร์ได้อย่างเหมาะสมกับการใช้งานของโรงงานได้อย่างเหมาะสมที่สุด